ข้อมูลรายละเอียดการแข่งขัน
การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย: จากซอฟต์แวร์ขนาดเล็กสู่มาตรฐานสากล
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ได้จัดทำโครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยขึ้นเป็น
ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ภายใต้ชื่อ
“โครงการสนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก”
ในระยะแรกดำเนินโครงการโดยการให้ทุนสนับสนุนเพื่อพัฒนาโครงการซอฟต์แวร์ใน
ระดับนักเรียนและนักศึกษา
ซึ่งก็ได้รับความสนใจมีผู้ส่งผลงานการพัฒนาซอฟต์แวร์เข้าร่วมประกวดเพิ่ม
ขึ้นทุกปี
ต่อมาโครงการประกวดซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก
ได้ปรับกลยุทธ์ในการดำเนินโครงการโดยจัดให้มีเวทีการแข่งขันในระดับประเทศ
และเปลี่ยนชื่อเป็น “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย
(National Software Contest: NSC)” ในปี พ.ศ. 2542
ซึ่งผู้ชนะเลิศในแต่ละประเภทจะได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราช
สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และศูนย์ฯ ได้สนับสนุนโครงการไปแล้วทั้งสิ้น 10,583
โครงการ* จากข้อเสนอโครงการทั้งสิ้นกว่า 21,603 โครงการ* จาก 150 สถาบันการศึกษา*
โครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยนี้สามารถผลิตและพัฒนา
สร้างนักเขียนโปรแกรมที่มีทักษะ
ความสามารถสูงให้กับวงการอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จำนวนไม่น้อย
และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นโครงการที่สร้างและพัฒนานักเขียนโปรแกรมอย่างแท้
จริง เพราะมีกระบวนการสร้าง พัฒนาและประเมินความสามารถที่ได้ผล
มีระบบส่งเสริม พัฒนาทักษะและสนับสนุนผู้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ทำให้มีผู้สนใจทั้งนักเรียนและนักศึกษาจากทุกภูมิภาคเข้าร่วมโครงการมากขึ้น
และได้รับการคัดเลือกจาก คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็น โครงการดีเด่นของชาติ
ประจำพุทธศักราช 2556 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ซึ่งได้เข้ารับพระราชทานรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เป็นผู้แทนพระองค์พระราชทานรางวัล เมื่อวันอังคารที่ 25 มีนาคม 2557 ณ
ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา นับเป็นเกียรติยศสูงสุดของโครงการ
ในปี
พ.ศ. 2557 - 2558 ศูนย์ฯ ได้ดำเนินโครงการการแข่งขันระดับชาติเป็นปีที่ 15
โดยได้แบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ระดับ 11 ประเภท กล่าวคือ
1.
ระดับนักศึกษา 5 ประเภท ได้แก่ โปรแกรมเพื่อความบันเทิง
โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการและผู้สูงอายุ
โปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ
โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลินุกซ์
2. ระดับนักเรียน 3 ประเภท ได้แก่ โปรแกรมเพื่อความบันเทิง โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และ โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน
3. หัวข้อพิเศษ 3 ประเภท ได้แก่ Mobile Application, การประมวลผลภาษาไทย
(BEST – Text Location Detection Contest) และระดับครู อาจารย์
สื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์
มีโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนทั้งสิ้น 736 โครงการ* จากข้อเสนอโครงการกว่า 1,668 โครงการ*
สำหรับในงาน มหกรรมฯครั้งนี้
จะเป็นประกวดผลงานการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับประเทศ
ของผู้พัฒนาทั้งนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกมาหลายขั้นตอนจาก
6 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก
ภาคตะวันตก และภาคกลาง รวมเสนอผลงานเพื่อการประกวดแข่งขันจำนวน 130 โครงการ*
หมายเหตุ: *ข้อมูล ณ มีนาคม 2559
- 3652 reads