การแข่งขัน YECC
การแข่งขันประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
(Youth's Electronics Circuit Contest 2010: YECC 2010)
การแข่งขันประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Youth's Electronics Circuit Contest: YECC 2010) ประจำปี 2553 จะจัดขึ้นในงาน “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9” ระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2553 โดยการแข่งขัน YECC 2010 เนคเทคได้พัฒนาโจทย์จากการแข่งขัน YECC 2009 ในปีที่แล้ว ซึ่งจะมีการนำเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีอื่นที่เกี่ยวข้อง ไปประยุกต์ใช้ในการเกษตรกรรมเพื่อเป็นการปรับปรุงให้เกษตรกรสร้างสรรค์ผลผลิตทางการเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สูงขึ้น ซึ่งเรียกว่า “เกษตรกรรมอัจฉริยะ (Smart Farm)”
รายละเอียดสำหรับการแข่งขันประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2553 (YECC 2010) มีดังนี้
1. รูปแบบการแข่งขัน
การแข่งขันในครั้งนี้ กำหนดให้ผู้เข้าแข่งขันนำความรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ไปประยุกต์ใช้กับการเกษตร เพื่อช่วยแก้ปัญหา พัฒนา หรือปรับปรุงกระบวนการในการเกษตร ให้เป็นกระบวนการใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น เรียกว่า “เกษตรกรรมอัจฉริยะ (Smart Farm)” โดยการพัฒนาโครงงานจะต้องใช้บอร์ดควบคุมของเนคเทค (Control Board) เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนอื่นๆ ที่ผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้ออกแบบเอง (บอร์ดเพิ่มเติม #1 ถึง #n) โดยในปีนี้ เนคเทคได้ส่งบอร์ดควบคุมมาพร้อมกับคู่มือการแข่งขันล่วงหน้า เพื่อให้แต่ละทีมศึกษาการใช้งานและออกแบบระบบโดยรวมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
คำแนะนำขั้นตอนการดำเนินการหลังจากได้รับบอร์ดควบคุม
a) ศึกษาบอร์ดควบคุม YECC 2010 จากภาคผนวก ก.
b) ศึกษาการใช้ Tools ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาโครงงานจากภาคผนวก ข.
c) ออกแบบบอร์ดเพิ่มเติมที่จะนำมาเชื่อมต่อกับบอร์ดควบคุมเพื่อทำงานตามวัตถุประสงค์ของโครงงาน ผู้เข้าแข่งขันอาจจะทดลองทำต้นแบบก่อนการแข่งขันได้ เพื่อทดสอบระบบก่อนนำมาประกอบซ้ำอีกครั้งในวันแข่งจริง
d) ให้ทีมแข่งขันจัดทำสรุปรายละเอียดโครงงาน และกรอกแบบฟอร์มรายการอุปกรณ์ที่ใช้ในบอร์ดเพิ่มเติม ตามเอกสารในภาคผนวก ค. พร้อมส่งกลับมายังเนคเทค ภายในวันที่ 22 มกราคม 2553
e) จัดทำโปสเตอร์ขนาด 20x30 นิ้ว เพื่ออธิบายโครงงาน ซึ่งจะจัดแสดงบริเวณการแข่งขันฯ สำหรับให้บุคคลทั่วไปให้คะแนนด้วยสติ๊กเกอร์ เพื่อแข่งขันรางวัลขวัญใจมหาชน (Popular Vote) พร้อมส่งไฟล์โปสเตอร์มายังเนคเทค ภายในวันที่ 22 มกราคม 2553
1.1 โจทย์การแข่งขันประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
โจทย์ข้อที่ | รายละเอียด | เวลาแข่งขัน | หมายเหตุ |
1 | ให้ผู้แข่งขันประกอบบอร์ดควบคุม (Control ฺBoard) ให้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ และเขียนโปรแกรมควบคุมพื้นฐานตามที่กำหนด | เริ่มดำเนินการ ในวันที่ 1-2 ของการแข่งขัน | แต่ละทีมจะได้รับวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบบอร์ดควบคุมพร้อมโจทย์ ในวันแข่งขัน เพื่อประกอบต่อ กรรมการในวันแข่งขัน |
2 | ผู้เข้าแข่งขันประกอบบอร์ดเพิ่มเติม (#1 ถึง #n) ที่แต่ละทีมออกแบบเพื่อให้ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่พัฒนาขึ้น | เริ่มดำเนินการ ในวันที่ 1-2 ของการแข่งขัน | แต่ละทีมต้องนำ วัสดุ อุปกรณ์ ของบอร์ดเพิ่มเติมมาเองใน วันแข่งขัน โดยราคาของวัสดุ อุปกรณ์ดังกล่าว ต้องอยู่ใน งบประมาณ 2,500 บาท ตามบัญชีรายชื่ออุปกรณ์ของแต่ละทีมที่ส่งให้กรรมการตรวจล่วงหน้าก่อนแข่งขัน (เอกสารตามภาคผนวก ค.) |
3 | การวัดความรู้เชิงทฤษฎี | เริ่มดำเนินการ ในวันที่ 1-2 ของการแข่งขัน | ทีมจะได้รับโจทย์ในวันแข่งขัน |
4 | ให้ผู้แข่งขันนำเสนอผลงานและตอบคำถามต่อคณะกรรมการ | ดำเนินการวันที่ 3 ของการแข่งขัน | มีเวลานำเสนอและตอบคำถาม ทีมละ 15 นาที |
1.2 งบประมาณ สำหรับการจัดทำบอร์ดเพิ่มเติม (#1 ถึง #n) ทีมแข่งขันจะได้รับงบประมาณในการพัฒนาบอร์ดเพิ่มเติม รวมทั้งสิ้น 2,500 บาท (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน) โดยทีมแข่งขันต้องส่งบัญชีรายชื่ออุปกรณ์ต่างๆ มายังเนคเทค โดยกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มในภาคผนวก ค. และส่งกลับมาที่ คุณนวลปรางค์ เฉลิมพักตร์ ทางโทรสารหมายเลข 02-564-6757 หรือทาง email: nauprang.chagampuk@nectec.or.th ภายในวันที่ 22 มกราคม 2553
1.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน
1.3.1 ให้ผู้แข่งขันแต่ละทีมจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ทั้งหมดที่ำต้องใช้ในการทำโครงงาน ภายในงบที่กำหนด (2,500 บาท) และนำมาในวันแข่งขัน
1.3.2 ให้ผู้แข่งขันแต่ละทีมนำ ICD2 หรือ CEDK-ICD มาเอง
1.3.3 ให้ผู้แข่งขันแต่ละทีมจัดเตรียมนำ Adaptor DC 12 V ที่ใช้กับบอร์ดควบคุมมาเอง
1.3.4 กรณีอุปกรณ์ที่ทีมผู้เข้าแข่งขันไม่ครบถ้วน หรือเสียหาย กรรมการจะอนุญาตให้มีการซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมได้เฉพาะทีมที่มีงบประมาณเหลือจากการซื้อของในครั้งแรก (2,500 บาท) โดยทีมจะต้องแจ้งชื่อ แก่คุณนวลปรางค์ ในวันแรกของการแข่งขัน ภายในเวลา 13.30 น. ทั้งนี้ การอนุญาตซื้อเพิ่มเติมให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการฯ
1.4 อุปกรณ์ที่คณะกรรมการ YECC จัดเตรียมให้ โดยทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถใช้ได้ฟรี มีดังนี้
1.4.1 แต่ละทีมสามารถขอใช้ Oscilloscope ได้ และเบิกอุปกรณ์สำหรับบอร์ดควบคุม รวมถึงสาย Wire Wrap, AWG #22, AWG #26, ที่เข้าหัว RJ, ที่เข้าหัวสายแพ
1.4.2 ให้แต่ละทีมใช้เครื่องมือสำหรับประกอบวงจรตามที่คณะกรรมการจัดเตรียมไว้เท่านั้น
2. ข้อกำหนดในการแข่งขัน คณะกรรมการ YECC 2010 ได้กำหนดกติกาการแข่งขัน ดังนี้
2.1 ข้อกำหนดทั่วไป
2.1.1 อนุญาตให้นำตำรา เอกสาร หรือ Datasheet เข้าในบริเวณการแข่งขันได้
2.1.2 อนุญาตให้นำคอมพิวเตอร์ Notebook ส่วนตัวเข้ามาใช้งานได้ทีมละ 1 เครื่อง เพื่อใช้เขียนโปรแกรมจัดทำเอกสาร หรืออ่านเอกสารเท่านั้น
2.1.3 ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องมือสื่อสารทุกชนิด รวมถึงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขณะแข่งขัน โดยเด็ดขาด หากมีข้อสงสัยสำหรับการอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์บางตัวขณะแข่งขัน สามารถสอบถามคณะกรรมการก่อนการแข่งขันได้
2.1.4 ให้ใช้ Tools สำหรับเขียนโปรแกรม (Coding, Compile, Debug, Program) ตามที่ได้กำหนดไว้เท่านั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ใช้ Tools อื่นจากคณะกรรมการก่อนเริ่มการแข่งขัน (รายละเอียดปรากฎใน ภาคผนวก ข.)
2.2 ข้อกำหนดในการทำโจทย์การแข่งขัน
2.2.1 นักเรียน: เป็นผู้ประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น นักศึกษาสามารถให้คำแนะนำได้
2.2.2 นักเรียนหรือนักศึกษา: เป็นผู้เขียนซอฟต์แวร์ และแก้ปัญหาทางทฤษฎี
2.2.3 โจทย์แต่ละช่วงจะต้องส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด
2.3 ข้อกำหนดในการนำเสนอผลงาน
2.3.1 การนำเสนอผลงานให้นักเรียน 2 คนเป็นผู้ดำเนินการ (นักศึกษาสามารถช่วยตอบคำถามกรรมการได้)
2.3.2 เวลาในการนำเสนอผลงานและตอบคำถาม มีเวลารวมทั้งสิ้น 15 นาที
3. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน
การแข่งขัน YECC 2010 ปีนี้ เป็นการแข่งขันแบบทีม ซึ่งองค์ประกอบสมาชิกในทีม รวมจำนวน 4 คน ได้แก่
3.1 นักศึกษามหาวิทยาลัยที่เป็น Staff ค่าย NECTEC e-Camp จำนวน 2 คน
3.2 นักเรียนที่ผ่านการเข้าร่วม NECTEC e-Camp ประจำปี 2552 จำนวน 2 คน
โดยสมาชิกในทีมที่เข้าแข่งขันจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
มีความรู้ภาษา C หรือภาษา Assembly
สามารถวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน
สามารถเรียนรู้การใช้เครื่องมือสำหรับงานประยุกต์ไมโครคอนโทรลเลอร์
4. ระยะเวลาในการแข่งขัน รวมทั้งสิ้น 2.5 วัน แบ่งเป็น ดังนี้
4.1 การประกอบวงจร (Implementation) 2 วัน
4.2 การนำเสนอผลงาน (Presentation) ½ วัน
5. เกณฑ์การให้คะแนน
5.1 น้ำหนักคะแนนจากโจทย์แต่ละส่วน
รายการ | สัดส่วนคะแนน |
5.1.1 ระบบรวม (โจทย์ข้อที่ 1 และ 2) แบ่งออกเป็น
| 30 % |
5.1.2 บอร์ดควบคุม (โจทย์ข้อที่ 1) แบ่งออกเป็น
| 30 % |
5.1.3 ทฤษฎี (โจทย์ข้อที่ 3) | 15 % |
5.1.4 การนำเสนอผลงาน (โจทย์ข้อที่ 4) | 15 % |
5.1.5 คะแนนพิเศษอื่น ๆ แบ่งออกเป็น - คำถามพิธีกร คำถามละ 200 คะแนน - ความตรงต่อเวลาในการลงทะเบียน 5 ครั้ง ครั้งละ 100 คะแนน - ความสะอาดเรียบร้อย คณะกรรมการตรวจ 2 รอบ รอบละ 250 คะแนน | 10 % |
หมายเหตุ: เกณฑ์การให้คะแนนข้อ 5.1.5 จะเป็นคะแนนอิงกลุ่ม คือคะแนนของทีมที่ได้สูงสุดคิดเป็น 100% ส่วนเปอร์เซ็นต์คะแนนของทีมที่มีคะแนนต่ำลงมาคิดจาก
(คะแนนของทีม/คะแนนของทีมสูงสุด) x 100%
5.2 เกณฑ์การหักคะแนน
รายการ | คะแนน |
5.2.1 อุปกรณ์เสียหายระหว่างการแข่งขัน |
|
- R, C, Socket | -100 คะแนน/ชิ้น |
- RTC, RS232 | -200 คะแนน/ชิ้น |
- MCU | -300 คะแนน/ชิ้น |
5.2.2 ปรึกษากรรมการด้านเทคนิค | -200 คะแนน/ครั้ง |
6. รางวัล
6.1 รางวัลแข่งขัน แบ่งเป็น ดังนี้
รางวัลที่ 1 จำนวน 1 รางวัล 30,000 บาท
รางวัลที่ 2 จำนวน 1 รางวัล 20,000 บาท
รางวัลที่ 3 จำนวน 1 รางวัล 10,000 บาท
6.2 รางวัลพิเศษ แบ่งเป็น ดังนี้
รางวัลความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 1 รางวัล
รางวัลออกแบบยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล
รางวัลขวัญใจมหาชน (Popular Vote) จำนวน 1 รางวัล
7. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
7.1 รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับโจทย์ กติกาการแข่งขัน หรือปัญหาทางเทคนิค ติดต่อ
คุณเจษฎา กาญจนะ
โทรศัพท์ 02-564-6900 ต่อ 2541
e-mail:
7.2 รายละเอียดทั่วไปของการแข่งขัน ติดต่อ
คุณนวลปรางค์ เฉลิมพักตร์
โทรศัพท์ 02-564-6900 ต่อ 2317
email:
คุณนิรมล ประทีปะจิตติ
โทรศัพท์ 02-564-6900 ต่อ 2324
email:
- 4830 reads