รายงานฉบับสมบูรณ์
ผู้รับทุนสนับสนุนในโครงการ YSC
ต้องดำเนินการพัฒนาโครงงานให้แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติ
และต้องส่งผลงานด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ได้ที่ ศูนย์ประสานงานภูมิภาคของโครงการในภูมิภาคที่สังกัด ในระยะเวลาที่ศูนย์ประสานงานในแต่ละภูมิภาคกำหนด
การ
เขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ คู่มือการติดตั้ง และคู่มือการใช้งาน
ให้ใช้โปรแกรม LibreOffice Writer หรือ Microsoft Word ภาษาไทย 2007
(เป็นอย่างต่ำ) โดยใช้ฟอนต์แห่งชาติ TH Sarabun New ตัวอักษรขนาด 16
กำหนดขอบด้านซ้าย ด้านขวา บน และล่าง 1 นิ้ว พร้อมระบุเลขหน้า
พิมพ์บนกระดาษขาว ขนาดมาตรฐาน A4
เข้าเล่มรายงานให้เรียบร้อยพร้อมปกหน้าและปกหลัง
1. การจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 1 ชุด
รายงานฉบับสมบูรณ์ควรจัดเตรียมควบคู่กับสมุดบันทึกข้อมูลโครงงาน
และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
รายงานฉบับสมบูรณ์ช่วยในการจัดข้อมูลและลำดับความคิด รายงานฉบับสมบูรณ์
ควรประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วนดังนี้
1.1) บทคัดย่อ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
หลังจากทำโครงงานเสร็จ เขียนบทคัดย่อประมาณ 1 หน้า บทคัดย่อประกอบด้วย (1)
วัตถุประสงค์ (2) กระบวนการทดลอง (3) ผลการทดลอง (4) การวิเคราะห์ผล (5)
สรุปผล (6) การประยุกต์ใช้งาน (ถ้ามี)
อาจจะอ้างอิงถึงงานที่ทำมาก่อนหน้านี้ได้
แต่บทคัดย่อควรเน้นงานที่ทำในปัจจุบันและไม่รวมกิตติกรรมประกาศ
หรืองานวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษา
1.2) เนื้อหาในรายงานฉบับสมบูณ์ ประกอบไปด้วยรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
1) หน้าปก (Cover) ตามแบบที่กำหนด (รูปแบบตามตัวอย่าง)
2) ข้อมูลผู้พัฒนาโครงงาน และอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล
ระดับการศึกษา สถานศึกษา สถานที่ติดต่อ (ที่บ้านที่สามารถส่งเอกสารไปถึงได้) โทรศัพท์เคลื่อนที่/โทรศัพท์บ้าน อีเมล์
3) สารบัญ
4) บทคัดย่อ (ภาษาไทยและอังกฤษ)
5) วัตถุประสงค์โดยละเอียด
6) กระบวนการทดลอง
บรรยายรายละเอียดกระบวนการที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลและการสังเกต
รายงานควรละเอียดเพียงพอที่ผู้อื่นสามารถที่จะทำการทดลองซ้ำจากข้อมูลใน
รายงานได้ อาจเพิ่มเติมภาพถ่ายหรือภาพวาดของอุปกรณ์ที่ออกแบบเองก็ได้
7) ผลการทดลอง
8) การวิเคราะห์ผล เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในรายงาน
ผลการทดลองและสรุปผลควรมาจากข้อมูลที่ได้อย่างมีเหตุมีผล ละเอียดรอบคอบ
แสดงให้ผู้อ่านเห็นถึงลำดับความคิดและรู้ในสิ่งที่ท่านได้ทำ
เปรียบเทียบผลการทดลองที่ได้จริงกับค่าทางทฤษฎี ข้อมูลที่มีการตีพิมพ์
ความเชื่อโดยทั่วไป หรือผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
อภิปรายถึงความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ข้อมูลมีการผันแปรอย่างไรบ้างในการทดลองที่เหมือนกันหลายๆครั้ง
ผลการทดลองจะแตกต่างอย่างไรหากไม่ได้มีการควบคุมตัวแปรบางตัว
จะทำการทดลองที่ต่างกันอย่างไรหากสามารถทำโครงงานใหม่อีกครั้ง
การทดลองอื่นใดบ้างที่ควรทดสอบเพิ่มเติม
9) สรุปผล
สรุปผลการทดลองโดยย่อ ระบุเฉพาะเจาะจงลงไป ไม่ควรเขียนแบบกว้างจนเกินไป
หลีกเลี่ยงการพูดถึงสิ่งใหม่ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้
10)
กิตติกรรมประกาศ
ควรให้เกียรติและระบุชื่อผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการทำโครงงาน รวมทั้งบุคคล
บริษัท สถานศึกษาและสถาบันวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนทุนสนับสนุนหรือวัสดุที่ได้รับ
ทั้งนี้
หากผลงานมีการส่งเข้าร่วมการประกวด หรือ ขอรับทุนจากแหล่งอื่น
ผู้พัฒนาและอาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องแจ้งให้เนคเทคทราบเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย
11) บรรณานุกรม บรรณานุกรมหรือหนังสืออ้างอิง
ควรระบุถึงแหล่งข้อมูลที่ไม่ใช่ผลงานของตนเอง เช่น หนังสือ
บทความในวารสารทางวิทยาศาสตร์หรืออื่นๆ อินเทอร์เน็ต
โดยใช้การอ้างอิงที่ถูกต้องตามรูปแบบ
2. CD-ROM จำนวน 1 ชุด พร้อมกล่องใส่ CD บรรจุข้อมูล ดังนี้
Document : ไฟล์เอกสารรายงาน จัดทำใน 2 รูปแบบ คือ 1. Pdf และ 2. LibreOffice Writer หรือ Microsoft Word ประกอบด้วย
ไฟล์ข้อเสนอโครงงาน
ไฟล์รายงานฉบับสมบูรณ์
รูปภาพแสดงการทดลอง ขั้นตอน หรือกระบวนการของโครงงาน โดยมีขนาดขั้นต่ำที่ 1024x768 พิกเซล/ภาพ
ไฟล์ต้นฉบับโปสเตอร์ หรือ แผ่นพับ สำหรับการเผยแพร่ (ถ้ามี)
- 4610 reads