กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับระบบลงทะเบียน GENA
โปรดแจ้งชื่อโครงการ ชื่อหัวหน้าโครงการ รหัสโครงการ และพาสเวิร์ดที่ได้รับ
ชื่อศูนย์ประสานงานที่สังกัด ปัญหาที่เกิดขึ้น ส่งมาที่

คู่มือการเข้าแข่งขัน NSC 2018 รอบชิงชนะเลิศ

การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20 (NSC 2018) รอบชิงชนะเลิศ
     จัดภายใต้งาน “มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17” (The Seventeenth Thailand IT Contest Festival 2018) ระหว่างวันที่ 14 - 16 มีนาคม 2561 เวลา 08.30-19.00 น. ณ ไอส์แลนด์ฮอลล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ถนนรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร

การตรวจสอบข้อมูล
     ผู้เข้าแข่งขันทุกท่าน ขอให้ตรวจสอบข้อมูลชื่อโครงการ ผู้พัฒนา อาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันให้ถูกต้อง เพื่อใช้ในการจัดทำเกียรติบัตร สูจิบัตรและอื่นๆ ได้ที่ รายชื่อโครงการเข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ หากไม่ถูกต้อง (ตลอดจน กรณีที่สิ่งจัดแสดงผลงานมีขนาดใหญ่ หรือใช้พื้นที่มาก) ขอให้แจ้งแก้ไขมายัง คุณเมทินี ศิริไกร ทาง eMail:   เท่านั้น ภายในเวลา 17.00 น. ของวันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 (หากเลยกำหนดวันดังกล่าว ศูนย์ฯ ขอสงวนสิทธิ์ งดการปรับแก้ไขในเอกสารต่างๆ)

การติดตั้งโปรแกรมและจัดแสดงผลงาน
     กำหนดการลงทะเบียนเพื่อติดตั้งและจัดแสดงผลงานวันที่ 13 มีนาคม 2561 เวลา 17.00-20.00 น. ณ ไอส์แลนด์ฮอลล์ ชั้น 3 ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ถนนรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร โดยผู้เข้าแข่งขันและอาจารย์ที่ปรึกษาจะได้รับบัตรประจำตัวสำหรับใช้ในการลงทะเบียนและผ่านเข้า-ออกบริเวณการจัดงานเมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว

     ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง โปรแกรมที่ต้องใช้ และโปสเตอร์พร้อมทั้งอุปกรณ์ในการติดตั้ง มาเองเพื่อใช้ในการติดตั้งและจัดแสดงผลงาน รวมทั้งจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 1 ชุด และแผ่นโปรแกรมผลงาน จำนวน 1 ชุด ทำการติดตั้งและแสดงผลงานให้เสร็จ และส่งมอบรายงานฉบับสมบูรณ์และแผ่นโปรแกรมผลงานดังกล่าว (โดยระบุชื่อและรหัสโครงการด้วย) ให้กับเจ้าหน้าที่ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ภายในเวลา 09.00 น. ของวันที่ 14 มีนาคม 2561 (ทั้งนี้สามารถส่งได้ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2561 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณจุดรับรายงานฉบับสมบูรณ์ ในสถานที่จัดงาน)

     สำหรับ โครงการใดที่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น สาย LAN เพื่อนำมาเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง หรือสายโทรศัพท์ภายใน ขอให้จัดเตรียมมาด้วย โดยผู้เข้าแข่งขันต้องจำลองเครื่องของตนเองเป็น server เอง ในกรณีที่พัฒนาโครงการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

     บูธ แสดงผลงานมีขนาดประมาณ กว้าง 2 * ลึก 1.5 * สูง 2.5 เมตร พร้อมด้วยโต๊ะ เก้าอี้ และจุดต่อปลั๊กไฟ 1 เต้าเสียบ 1 จุด (กรณีที่สิ่งจัดแสดงผลงานมีขนาดใหญ่ หรือใช้พื้นที่มาก จะจัดพื้นที่ให้ตามความจำเป็น และรบกวนเตรียมปลั๊กต่อพ่วงมาเอง กรณีต้องการเต้าเสียบมากกว่า 1 จุด) สามารถดูรูปแบบของบูธได้ที่ รูปแบบบูธ NSC 2018 โดยผู้เข้า แข่งขันรอบชิงชนะเลิศต้องจัดทำโปสเตอร์แสดงผลงานขนาด 60*80 เซนติเมตรจำนวนอย่างน้อย 1 แผ่นและใช้ต้นแบบ [Template] ตามที่ศูนย์ฯ ออกแบบไว้เท่านั้น ซึ่งสามารถโหลดไฟล์ได้ที่ Poster Template และผู้เข้าแข่งขันต้องส่งมอบไฟล์ที่ใช้ในการจัดทำโปสเตอร์ โดยรวมอยู่ในแผ่นโปรแกรมผลงาน เพื่อทางโครงการฯ อาจใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานของผู้เข้าแข่งขันได้

     สำหรับ เนื้อหาบนโปสเตอร์ กำหนดให้ใส่ชื่อโครงการและชื่อผู้พัฒนาด้านบน ส่วนเนื้อหาอื่นๆ ควรประกอบด้วย รหัสโครงการ ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาและสถาบัน สถานที่ติดต่อ บทคัดย่อ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย รายละเอียดที่สำคัญของโปรแกรม กลุ่มผู้ใช้งาน ผลการทดสอบ ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิง ควรมีภาพประกอบและคำอธิบายโดยใช้ตัวอักษรที่อ่านง่าย ชัดเจนและดึงดูดความสนใจผู้ชม ตามรายละเอียดที่ได้แจ้งไว้แล้วในหน้า Poster Template ทั้งนี้ รายชื่อข้อผู้พัฒนาและอาจารยที่ปรึกษาต้องตรงตามรายชื่อที่ระบุในข้อเสนอโครงการเท่านั้น หากมีรายชื่อที่ไม่ตรงตามข้อเสนอโครงการ ศูนย์ขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาตัดสิทธิ์การแข่งขัน

     เมื่อ ผู้เข้าแข่งขันเข้าประจำบูธและ/หรือนำอุปกรณ์เข้า-ออกจากบริเวณงาน จะต้องเช็คอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ พร้อมส่งใบรายการเช็คคอมพิวเตอร์ให้กับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ทุกวัน พร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวที่ได้รับเมื่อลงทะเบียนในวันแรก และเมื่อถึงเวลาเลิกงานขอให้ผู้เข้าแข่งขันปิดสวิตซ์อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ก่อนออกจากงาน

     ภายในบริเวณการจัดงาน ผู้เข้าแข่งขันควรระมัดระวังทรัพย์สินของมีค่าของตนเอง

การลงทะเบียน
     ผู้เข้าแข่งขันจะต้องมาร่วมงานและลงทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ทุกวันตั้งแต่วันที่ 14 – 16 มีนาคม 2561 เวลา 08.30 น. และเวลาเลิกงาน คือ 19.00 น. โดยศูนย์ฯ จะแจกบัตรสำหรับผู้เข้าแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ และขอให้ทุกท่านติดบัตรตลอดเวลาที่อยู่ในบริเวณงาน

การเฝ้าประจำบูธ
     ผู้เข้าแข่งขันต้องอยู่ประจำบูธตลอดวัน โดยเฉพาะวันที่กรรมการตรวจพิจารณาโครงการ และอยู่ประจำบูธเพื่อนำเสนอผลงานต่อสาธารณชนที่เข้าชมงานตลอดวันงานทั้ง 3 วัน

การแต่งกาย
              เพื่อความเหมาะสม ในระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม 2561 ขอความร่วมมือเรื่องการแต่งกาย ดังนี้
          วันที่ 14 – 15 มีนาคม 2561
              - นักเรียน นิสิต นักศึกษา แต่งชุดยูนิฟอร์มโรงเรียน รองเท้าหุ้มส้น และติดบัตรผู้เข้าแข่งขัน
              - อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ติดตาม และบุคคลทั่วไป แต่งกายด้วยชุดสุภาพ รองเท้าหุ้มส้น และติดบัตรอาจารย์ที่ปรึกษา
          วันที่ 16 มีนาคม 2561
              - นักเรียน นิสิต นักศึกษา แต่งกายด้วยชุดสุภาพ สวมเสื้อยืดประจำการแข่งขัน รองเท้าหุ้มส้น และติดบัตรผู้เข้าแข่งขัน (โดยผู้จัดจะแจกเสื้อให้แก่ผู้เข้าแข่งขันในระหว่างวันที่ 14 – 15 มีนาคม 2561)
              - อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ติดตาม และบุคคลทั่วไป แต่งกายด้วยชุดสุภาพ สวมเสื้อยืดประจำการแข่งขัน รองเท้าหุ้มส้น และติดบัตรอาจารย์ที่ปรึกษา (โดยผู้จัดจะแจกเสื้อให้แก่อาจารย์ที่ปรึกษาหลักในระหว่างวันที่ 14 – 15 มีนาคม 2561)

การจ่ายเงินทุนงวดที่ 2 และเงินสนับสนุนรอบชิงชนะเลิศ
     1. เงินทุนสนับสนุนงวดที่ 2 แต่ละโครงงานจะได้รับเงินทุนสนับสนุน จำนวน 9000 บาท โดยแบ่งเป็นทุนสำหรับผู้พัฒนาจำนวน 7,000 บาท และทุนสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 2,000 บาท โดยสามารถติดต่อรับเงินทุนที่ศูนย์ประสานงานภูมิภาคของโครงการ NSC 2018 ตามที่ศูนย์ประสานงานกำหนดเวลาและวิธีการจ่ายเงิน

                               
     ภาคเหนือ – ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
     ภาคใต้ – ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
     ภาคตะวันออก – คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
     ภาคกลาง – ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร
     ภาคตะวันตก – ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

     2. เงินทุนสนับสนุนรอบชิงชนะเลิศสำหรับโครงการที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบชิงชนะเลิศ แต่ละโครงการจะได้รับเงินทุนสำหรับ ผู้พัฒนาและอาจารย์ที่ปรึกษา โดยผู้พัฒนาและอาจารย์ที่ปรึกษาต้องประจำบูธนิทรรศการและลงทะเบียนเข้า-ออก ทุกวัน โดยศูนย์ประสานงานภูมิภาคเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายเงินดังกล่าวภายหลังงาน เสร็จสิ้น โดยใช้เอกสารประกอบ คือ ใบสำคัญรับเงินประจำแต่ละศูนย์ประสานงาน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ลงนามสำเนาถูกต้อง







ภูมิภาค อัตราเงินสนับสนุน (ต่อคน/ต่อวัน) อัตราเงินสนับสนุน (ต่อคน/ต่องาน 3 วัน)

ภาคเหนือ 800 บาท 2,400 บาท

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 800 บาท 2,400 บาท

ภาคใต้ 800 บาท 2,400 บาท

ภาคตะวันออก (ยกเว้น ชลบุรีและสมุทรปราการ)
ภาคตะวันตก (เพชรบุรี)
600 บาท 1,800 บาท

ภาคตะวันออก (ชลบุรี),
ภาคกลาง (ยกเว้นกทม. ปทุมธานี)
500 บาท 1,500 บาท

ภาคกลาง (กทม. ปทุมธานี)
ภาคตะวันออก (สมุทรปราการ)
ภาคตะวันตก (นครปฐม)
400 บาท 1,200 บาท





การรับเงินรางวัล คลิกเพื่ออ่าน

     โครงการที่ชนะเลิศในการแข่งขัน ฯ จะได้เงินรางวัลพร้อมโล่เกียรติยศ ดังนี้
       รางวัลที่ 1    มูลค่า  60,000.- บาท
       รางวัลที่ 2    มูลค่า  40,000.- บาท
       รางวัลที่ 3    มูลค่า  20,000.- บาท
       รางวัลชมเชย    มูลค่า  10,000.- บาท 

     สถาบัน การศึกษาที่ได้รับรางวัลที่ 1 , 2 และ 3 ในแต่ละประเภท จะได้รับโล่รางวัลเกียรติยศจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ โดยทางศูนย์ฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการโอนเงินรางวัลเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพของหัวหน้า โครงการ (80% ของเงินรางวัล) และอาจารย์ที่ปรึกษา (20% ของเงินรางวัล) โดยใช้เอกสารประกอบการเบิกจ่าย คือ ใบสำคัญรับเงิน ของศูนย์ฯ สำเนาบัญชีธนาคารกรุงเทพ (เท่านั้น) และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบัญชีที่ลงนามสำเนาถูกต้อง อย่างละ 1 ฉบับ โดยขอให้จัดเตรียมเอกสารส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ ดังนี้

       คุณเมทินี  ศิริไกร (โครงการ NSC 2018)
       งานพัฒนาเยาวชนและเขตพื้นที่ด้านไอที (FITS) ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย (RSO)
       ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
       112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน
       ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

     ใน กรณีที่อาจารย์ที่ปรึกษามีความประสงค์จะมอบเงินรางวัลให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง หมด ขอให้อาจารย์ที่ปรึกษาทำหนังสือแจ้งแก่ศูนย์ฯ พร้อมทั้ง หนังสือมอบอำนาจ แก่หัวหน้าโครงการด้วย

ที่พัก
     ผู้เข้าแข่งขันและอาจารย์ที่ปรึกษาต้องดำเนินการจัดหาที่พักเอง โดยทางศูนย์ฯ จะประสานงานในเบื้องต้นเรื่องสถานที่พัก ราคาห้องพัก และเบอร์โทรศัพท์ ควรดำเนินการจองแต่เนิ่นๆ เพราะทางสถานที่พักแต่ละแห่ง มีห้องพักจำนวนจำกัด ดังต่อไปนี้

วีว่า เรสซิเดนซ์
ที่ตั้ง: 90,90/9 ถนนคู้บอน แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230
เบอร์ติดต่อ: 0 2946 4599, 091 768 8000  Fax : 0 2946 4688
FB: vivaresidence71
IG: viv_residence
เว็บไซต์:  www.viva-residence.com
การเดินทาง: รถสองแถวมีนบุรี (เข้าแฟชั่น)
จุดสังเกตุ: อยู่ติดกับสถานีบริการน้ำมันบางจาก และอยู่ฝั่งตรงข้ามกับถนนคู้บอน ซอย 11

Grow Apartment
ที่ตั้ง: 765 ถนนรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230
เบอร์ติดต่อ: 0 2540 4230-32, 0 2540 4478-9  Fax : 0 2540 4229
เว็บไซต์:  www.growresidences.com
ราคา:  ห้อง Studio 1,300 บาท สำหรับ 2 ท่าน  (ราคานี้รวมอาหารเช้า)
         ห้อง Studio 1,800 บาท สำหรับ 3 ท่าน  (ราคานี้รวมอาหารเช้า)
         ห้อง 2 Bedroom Suites 2,500 บาท สำหรับ 3-4 ท่าน (ราคานี้รวมอาหารเช้า)
การเดินทาง: ห่างจากแฟชั่นไอส์แลนด์ประมาณ 5 นาที สามารถเดินได้ ประมาณ 500 เมตร
จุดสังเกตุ: ทางเข้าอยู่ติดกับสถานีบริการน้ำมันปตท.

หาก ท่านมีข้อสงสัย กรุณาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โครงการ NSC 208 เนคเทค หรือ ที่ศูนย์ประสานงานภูมิภาคที่ท่านสังกัดอยู่ ในวันและเวลาราชการ