เกณฑ์การพิจารณาตัดสิน
1. รอบคัดเลือกข้อเสนอโครงการ
คัดเลือกผลงานจากข้อเสนอโครงการที่ส่งเข้ามา โดยกำหนดประเด็นพิจารณาไว้ 5 ด้าน เพื่อเป็นแนวทางให้คณะกรรมการใช้สำหรับการพิจารณาข้อเสนอโครงการ โดยแต่ละกลุ่ม เกณฑ์และน้ำหนักของการให้คะแนนต่างกันตามตารางที่กำหนด เพื่อความเหมาะสมในการตัดสินในแต่ละประเภท โดยการพิจารณาข้อเสนอโครงการจะพิจารณาจากหลักเกณฑ์ด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 ด้านความสมบูรณ์ของข้อเสนอโครงการ
ข้อเสนอโครงการมีรูปแบบและหัวข้อครบถ้วน สามารถสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจได้
ใช้ภาษาได้ถูกต้อง มีภาพ ตาราง หรือ ตัวอย่างประกอบทำให้สื่อได้ชัดเจน
1.2 ด้านความยากง่ายในการพัฒนา เทคนิคที่ใช้มีความซับซ้อน หรือ
ขั้นสูง เทคโนโลยีใหม่และมีประสิทธิภาพ
มีคุณค่าในเชิงงานพัฒนาหรือการวิจัย หรือใช้เทคนิคที่ไม่ซับซ้อนมาก
แต่ถ่ายทอดได้น่าสนใจ โครงการที่พัฒนาด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส (Open
Source) จะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
1.3
ด้านความคิดสร้างสรรค์ เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ แปลก ใหม่
ยังไม่มีผู้พัฒนาหรือคิดค้นมาก่อน หรือ มีผู้พัฒนามาแล้ว
แต่นำเสนอหรือพัฒนาในแนวทางที่แตกต่างออกไป
1.4
ด้านประโยชน์ใช้งาน สามารถนำไปใช้งานได้จริง
มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง สามารถนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์ได้
สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้
1.5
ด้านความน่าจะพัฒนาโครงการได้เสร็จตามกำหนด ขอบเขตงาน
สามารถพัฒนาได้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด 3 เดือน สำหรับงานใหม่ หรือ
งานที่พัฒนาต่อยอดจากงานเดิมก็ตาม
ประเภท | ความสมบูรณ์ของข้อเสนอ | ความยากง่ายในการพัฒนา | ความคิดสร้างสรรค์ | ประโยชน์ใช้งาน | ความน่าจะพัฒนาได้เสร็จ | รวม |
ระดับนิสิต นักศึกษา | ||||||
หมวด 11 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง | 20 | 20 | 25 | 20 | 15 | 100 |
หมวด 12 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ | 20 | 15 | 25 | 25 | 15 | 100 |
หมวด 13 โปรแกรมเพื่อสุขภาพ การแพทย์ คนพิการ และผู้สูงอายุ | 20 | 20 | 15 | 30 | 15 | 100 |
หมวด 14 โปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 20 | 25 | 25 | 20 | 10 | 100 |
หมวด 15 Mobile Application (นักศึกษา) | 20 | 20 | 25 | 25 | 10 | 100 |
ระดับนักเรียน | ||||||
หมวด 21 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง | 20 | 20 | 25 | 20 | 15 | 100 |
หมวด 22 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ | 20 | 15 | 25 | 25 | 15 | 100 |
หมวด 23 โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน | 20 | 20 | 20 | 25 | 15 | 100 |
หัวข้อพิเศษ | ||||||
หมวด 31 โปรแกรมถามตอบจากคลังข้อมูลวิกิพีเดียภาษาไทย (Question answering program from Thai Wikipedia) | 20 | 30 | 20 | 15 | 15 | 100 |
หมวด 32 BEST 2019 Handwritten Recognition: การรู้จำลายมือเขียน | 25 | 25 | 25 | - | 25 | 100 |
หมวด 33 Internet of Things (IoT) | 20 | 20 | 25 | 25 | 10 | 100 |
หมวด 34 โปรแกรมวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ | 20 | 25 | 25 | 20 | 10 | 100 |
หมายเหตุ:
1. เนคเทค พิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการตามความเหมาะสม
เพื่อให้ทุนสนับสนุนโครงการในแต่ละประเภทโดยพิจารณาจากการจัดลำดับคะแนนที่
ได้สูงสุดลงมา ทั้งนี้ โครงการที่จะได้รับการสนับสนุน
ต้องได้รับคะแนนไม่น้อยกว่า 60 คะแนน
2. เฉพาะหมวด ๓๒ BEST 2019 Handwritten Recognition: การรู้จำลายมือเขียน
การแข่งขันรอบแรก: รอบข้อเสนอโครงการ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องส่งข้อเสนอโครงการให้กรรมการพิจารณา โดยข้อเสนอโครงการจะต้องกล่าวถึงเทคนิคที่คาดว่าจะใช้ในการพัฒนา พร้อมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโดยละเอียด เพื่อให้กรรมการพิจารณาได้ถึงความเป็นไปได้ที่ผลงานจะสำเร็จ และเพื่อให้กรรมการสามารถให้ข้อแนะนำในการพัฒนาผลงานต่อได้ นอกจากนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้อง Downloadแบบฟอร์มที่ผู้จัดการแข่งขันได้จัดเตรียมไว้ให้ ซึ่งเป็น file pdf ความยาว 2 หน้าไปพิมพ์บนกระดาษขาวขนาด A4จำนวน 10 ชุด รวมทั้งสิ้น 20 แผ่น โดยเขียนด้วยลายมือ (กี่คนเขียนก็ได้) แล้วส่งแบบฟอร์มที่เขียนเรียบร้อย ส่งให้ผู้จัดการแข่งขันทางไปรษณีย์ ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2561 (ก่อนการปิดรับสมัครข้อเสนอโครงการ) โดยจัดส่งไปยัง
งานพัฒนาเยาวชนและเขตพื้นที่ด้านไอที (FITS) ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย (RSO)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
(วงเล็บมุมซอง “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 21 (NSC 2019)
หมวด 32 BEST 2019 Handwritten Recognition: การรู้จำลายมือเขียน”)
2 รอบการส่งผลงาน
เนคเทค พิจารณาจากผลงานและรายงานฉบับสมบูรณ์ที่ผู้พัฒนาจัดส่งและตรวจสอบความครบถ้วนของผลงานที่ส่งมอบ โดยพิจารณาจาก
2.1 ในการนำเสนอผลงานและสาธิตซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น ซึ่งผู้พัฒนาต้องมานำเสนอผลงานด้วยตนเอง ณ วัน เวลา และสถานที่ที่ศูนย์ประสานงานภูมิภาค กำหนด2.2 สิ่งที่ต้องส่งมอบครบตามที่เนคเทคกำหนด ประกอบด้วย รายงานฉบับสมบูรณ์ คู่มือการติดตั้งและคู่มือการใช้งาน จำนวน 1 ชุด โดยอัพโหล file เข้าระบบ GENA ภายในวันที่ 23 มกราคม 2562
2.3 ผลการทดลองใช้งานจริง เนคเทคจะมีคณะทำงานตรวจสอบผลงาน โดยทดลองติดตั้งและทดลอง ใช้งานจริงตามคู่มือ จุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละผลงาน รวมทั้งข้อเสนอแนะผลงานจะถูกให้คะแนน โดยคณะผู้ตรวจ กำหนดไว้ไม่เกิน 75% ของคะแนนรวม
ประเภท | รายงาน และการติดตั้งโปรแกรม | Look & Feel | Technique | Creativity | Economic & Social Impact | การนำเสนอผงาน | รวม |
ระดับนิสิต นักศึกษา | |||||||
หมวด 11 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง | 25 | 20 | 15 | 20 | 15 | 5 | 100 |
หมวด 12 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ | 25 | 20 | 10 | 20 | 20 | 5 | 100 |
หมวด 13 โปรแกรมเพื่อสุขภาพ การแพทย์ คนพิการ และผู้สูงอายุ | 25 | 15 | 15 | 15 | 25 | 5 | 100 |
หมวด 14 โปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 25 | 15 | 20 | 20 | 15 | 5 | 100 |
หมวด 15 Mobile Application | 25 | 15 | 15 | 20 | 20 | 5 | 100 |
ระดับนักเรียน | |||||||
หมวด 21 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง | 25 | 20 | 15 | 20 | 15 | 5 | 100 |
หมวด 22 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ | 25 | 20 | 10 | 20 | 20 | 5 | 100 |
หมวด 23 โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน | 25 | 15 | 15 | 20 | 20 | 5 | 100 |
หัวข้อพิเศษ | |||||||
หมวด 31 โปรแกรมถามตอบจากคลังข้อมูลวิกิพีเดียภาษาไทย (Question answering program from Thai Wikipedia) | 25 | 15 | 20 | 15 | 20 | 5 | 100 |
หมวด 32 BEST 2019 Handwritten Recognition: การรู้จำลายมือเขียน | 15 | - | 55 | 15 | - | 15 | 100 |
หมวด 33 Internet of Things (IoT) | 25 | 15 | 15 | 20 | 20 | 5 | 100 |
หมวด 34 โปรแกรมวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ | 25 | 15 | 20 | 20 | 15 | 5 | 100 |
หมายเหตุ:
1. ผลงานที่ผ่านการตรวจรับ จะถูกจัดลำดับคะแนน (Ranking) เพื่อการพิจารณาจำนวนโครงการที่เหมาะสม สำหรับการเข้าสู่รอบการประกวดชิงชนะเลิศต่อไป ทั้งนี้ โครงการที่จะได้รับการสนับสนุน ต้องได้รับคะแนนไม่น้อยกว่า 60 คะแนน และโครงการที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ต้องได้รับคะแนนไม่น้อยกว่า 80 คะแนน และจัดทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว
2. เฉพาะหมวด 32 BEST 2019 Handwritten Recognition: การรู้จำลายมือเขียน
ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับแฟ้มข้อมูลภาพ (Gray-Scale รูปแบบ png ซึ่งอาจจะได้จากการสแกนหรือการถ่ายรูป) r2-0001.png r2-0002.png …r2-000n.pngจะต้องประมวลผลแล้วตอบไว้ในแฟ้มข้อมูล r2-0001.txt r2-0003.txt...r2-000n.txt โดยข้อความอยู่ในรูปแบบ UTF8 ทั้งนี้ในแต่ละรูปมีบรรทัดเดียวเท่านั้น (ส่วนหนึ่งของข้อมูลจะได้จากที่ผู้เข้าแข่งขันเขียนส่งมาให้ในรอบแรก (ข้อเสนอโครงการ)
3 การประกวดแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
เนคเทค ได้กำหนดหลักเกณฑ์ ประเด็นการให้คะแนน การรวมคะแนน และวิธีการในการตัดสินให้คณะกรรมการแต่ละชุดสามารถกำหนดเป็นเกณฑ์ร่วมกัน ก่อนการพิจารณาตัดสิน หากผลคะแนนไม่สามารถตัดสินได้ การชี้ขาดให้สิทธิ์เป็นของคณะกรรมการ
3.1 การให้คะแนน
การให้คะแนน สำหรับโครงการในแต่ละประเภทที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศนั้น พิจารณาจากประเด็นต่างๆ ทั้งสิ้น 5 ประเด็นหลัก กล่าวคือ
1. Look and Feel เช่น
ความสวยงาม ความน่าสนใจของโปรแกรม
การใช้งานง่ายและสะดวก
ความถูกต้อง ครบถ้วนในเนื้อหาที่นำเสนอ
2. Technique เช่น
ความยากง่ายของโปรแกรม (Programming Technique)
คุณค่าในเชิงงานพัฒนา หรือการวิจัย
ความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยี
ความถูกต้องและประสิทธิภาพของโปรแกรม
การพัฒนาด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส (Open Source)
3. Creativity
ความคิดสร้างสรรค์
4. Economic & Social Impact เช่น
ประโยชน์และคุณค่าทางเศรษฐกิจ
ประโยชน์และคุณค่าทางสังคม
ศักยภาพในการนำไปผลิตเชิงพาณิชย์ หรือ พัฒนาต่อยอด
5. Presentation เช่น
การแสดงผลงาน (โปสเตอร์, บูธ) และการนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ
ความสุภาพและการแต่งตัว
เอกสารเผยแพร่ผลงาน เป็นต้น
การคิดคะแนนรวม คะแนนรวมทั้งสิ้นของทุกๆ ประเด็นหลัก เท่ากับ 100 คะแนนเต็ม
3.2 การกำหนดคะแนนของแต่ละประเด็น
เนคเทคได้กำหนดหลักเกณฑ์การให้คะแนนเป็นมาตรฐานร่วมกัน ดังนี้
ประเภท | Look & Feel | Technique | Creativity | Economic & Social Impact | Presentation | รวม |
ระดับนิสิต นักศึกษา | ||||||
หมวด 11 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง | 25 | 20 | 25 | 20 | 10 | 100 |
หมวด 12 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ | 25 | 15 | 25 | 25 | 10 | 100 |
หมวด 13 โปรแกรมเพื่อสุขภาพ การแพทย์ คนพิการ และผู้สูงอายุ | 20 | 20 | 20 | 30 | 10 | 100 |
หมวด 14 โปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 20 | 25 | 25 | 20 | 10 | 100 |
หมวด 15 Mobile Application | 20 | 20 | 25 | 25 | 10 | 100 |
ระดับนักเรียน | ||||||
หมวด 21 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง | 25 | 20 | 25 | 20 | 10 | 100 |
หมวด 22 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ | 25 | 15 | 25 | 25 | 10 | 100 |
หมวด 23 โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน | 20 | 20 | 25 | 25 | 10 | 100 |
หัวข้อพิเศษ | ||||||
หมวด 31 โปรแกรมถามตอบจากคลังข้อมูลวิกิพีเดียภาษาไทย (Question answering program from Thai Wikipedia) | 20 | 25 | 20 | 25 | 10 | 100 |
หมวด 32 BEST 2019 Handwritten Recognition: การรู้จำลายมือเขียน | - | 70 | 15 | - | 15 | 100 |
หมวด 33 Internet of Things (IoT) | 20 | 20 | 25 | 25 | 10 | 100 |
หมวด 34 โปรแกรมวิทยาการข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ | 20 | 25 | 25 | 20 | 10 | 100 |
3.3 หลักเกณฑ์ในการตัดสินรอบชิงชนะเลิศ
สำหรับโครงการที่จะได้รับรางวัลต่างๆ ของการแข่งขันในแต่ละประเภทนั้น ควรจะสอดคล้องกับเกณฑ์ต่างๆ ในเบื้องต้น ดังต่อไปนี้
รางวัลที่ 1 ต้องได้รับคะแนนสูงสุด และได้รับคะแนนเฉลี่ย มากกว่าหรือเท่ากับ 80 คะแนน 1 รางวัล
รางวัลอื่นๆ จะทำการพิจารณาจากคะแนนที่ได้ตามลำดับ โดยสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
รางวัลที่ 2 ต้องได้รับคะแนนเฉลี่ย มากกว่าหรือเท่ากับ 75 คะแนน 1 รางวัล
รางวัลที่ 3 ต้องได้รับคะแนนเฉลี่ย มากกว่าหรือเท่ากับ 70 คะแนน 1 รางวัล
รางวัลชมเชย 2 รางวัล
หมายเหตุ: 1. ในกรณีที่โครงการที่ได้รับคะแนนสูงสุด มีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่า 80 คะแนน จะถือว่า ไม่มีรางวัลที่ 1 สำหรับโครงการในประเภทนั้นๆ
2. ในการตัดสิน กรณีที่มีปัญหา จะถือคำตัดสินของคณะกรรมการเป็นการชี้ขาด
- 6701 reads